วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

กลศาสตร์ของไหล


          กลศาสตร์ของไหล คือวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของของไหลและแรงที่เกิดขึ้น (ของไหลหมายถึงของเหลวและกาซ) กลศาสตร์ของไหลอาจแบ่งได้เป็นสองส่วนคือสถิตยศาสตร์ของไหลซึ่งศึกษาของไหลในขณะที่หยุดนิ่ง และพลศาสตรฺของไหลที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของของไหล ศาสตร์นี้นับเป็นส่วนหนึ่งของกลศาสตร์ภาวะต่อเนื่องซึ่งศึกษาแบบจำลองของวัตถุโดยไม่สนใจข้อมูลในระดับอะตอม กลศาสตร์ของไหลเป็นหนึ่งในสาขาการวิจัยที่ได้รัยความสนใจและมีปรากฏการณ์มากมายที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือถูกค้นพบเพียงบางส่วน กลศาสตร์ของไหลประกอบด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน บางครั้งวิธีหาคำตอบที่ดีที่สุดคือการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ วิทยาการสมัยใหม่เกี่ยวกับกลศาสตร์ของไหลคือ พลศาสตร์ของไหลเชิงคณนา (Computational Fluid Dynamics) (CFD) คือเครื่องมือที่ถูกใช้ในการแก้ปัญหาทางกลศาสตร์ของไหลโดยเฉพาะ หรือการแก้ปัญหาด้วยการใช้ Particle Image Velocimetry มาใช้สร้างให้เห็นภาพการไหลของของไหลและศึกษาพฤติกรรมของมัน กลศาสตร์ของไหลเป็นส่วนหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของของไหลและแรงที่เกิดขึ้นในตัวของมัน
     สมมติฐาน
เช่นเดียวกับแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ที่ถูกประยุกต์ใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง กลศาสตร์ของไหลทำการสร้างสมมติฐานพื้นฐานเกี่ยวกับสสารที่กำลังถูกศึกษา สมมติฐานเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยอมรับได้ ถ้าสมมติฐานมีความเป็นจริงอยู่ ตัวอย่างเช่นการพิจารณาของไหลอัดตัวไม่ได้ (incompressible fluid) ในสามมิติ ข้อสมมติที่ว่ามวลได้รับการอนุรักษ์นั้นหมายถึงว่าในผิวปิดใด ๆ ก็ตาม อัตราการไหลเข้าของมวลจากภายนอกระบบ (สิ่งแวดล้อม) สู่ภายในระบบจะต้องเท่ากับอัตราการไหลออกจากระบบสู่สิ่งแวดล้อม หรือกล่าวอีกนัยว่ามวลของระบบนั้นคงที่นั่นเอง ซึ่งนี่ทำให้สมการอินทีกอลสามารถนำมาประยุกต์ใช้บนพื้นผิวได้
กศาสตร์ของไหลสมมติว่าทุก ๆ ของไหลนั้นสอดคล้องตามกฎเหล่านี้
     Ø      กฎการอนุรักษ์มวล
     Ø     กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
นอกจากนี้ การสมมติว่าของไหลเป็นของไหลอัดตัวไม่ได้นั้นค่อนข้างจะมีประโยชน์ในหลาย ๆ กรณีและมีความสมจริง ซึ่งของไหลอัดตัวไม่ได้เหล่านี้ ความหนาแน่นของมันจะคงที่เสมอ ของไหลสามารถถูกนำมาคำนวณด้วยข้อสมมติว่ามันเป็นของไหลอัดตัวไม่ได้อยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่กาซไม่สามารถใช้ข้อสมมตินี้ได้
ในทางเดียวกัน ของไหลอาจจะถูกสมมติว่าไร้ความหนืด กาซมักจะถูกสมมติว่าไร้ความหนืดอยู่บ่อยครั้ง ถ้าของไหลถูกสมมติว่ามีความหนืดและเป็นการไหลในภาชนะบางอย่าง เช่น ท่อ ดังนั้นการไหลที่ผิวขอบจะมีความเร็วเป็นศูนย์ สำหรับของไหลที่มีความหนืดและขอบเขตไม่มีรูพรุน แรงเฉือนที่ผิวของไหลและขอบเขตจะส่งผลให้ความเร็วของของไหลเป็นศูนย์ ซึ่งเรียกว่า สภาวะไร้การไถล สำหรับการไหลผ่านขอบเขตที่มีรูพรุน ที่ผิวของภาชนะจะเกิดสภาวะการไถลทำให้ความเร็วไม่เป็นศูนย์ และจะเกิดสนามความเร็วที่ไม่ต่อเนื่องในของไหลระหว่างของไหลอิสระกับของไหลตามรูพรุน
ทฤษฎีความต่อเนื่อง
ในของไหลนั้นประกอบไปด้วยโมเลกุลที่เคลื่อนที่ชนกันไปชนกันมาและชนกับโมเลกุลอื่นและของแข็ง แต่ทว่าข้อสมมติความต่อเนื่องพิจารณาของไหลว่ามีความต่อเนื่อง ดังนั้นคุณสมบัติของของไหลเช่น ความหนาแน่น ความดัน อุณหภูมิ และความเร็วจะถูกพิจารณาเป็นจุดที่เล็กมาก ๆ เรียกว่า อีลาเมนท์อ้างอิงตามปริมาตร (Reference Element of Volume, REV) ซึ่งแบ่งตามระยะห่างเชิงเรขาคณิตของโมเลกุลของของไหลที่อยู่ใกล้เคียงกัน คุณสมบัติเหล่านี้ถูกสมมติให้มีลักษณะที่ต่อเนื่องอย่างมากจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งและถูกหาค่าเฉลี่ยใน REV ข้อเท็จจริงที่ว่าของไหลนั้นประกอบไปด้วยลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องนั้นถูกละไว้

ทฤษฎีความต่อเนื่องนี้โดยพื้นฐานแล้วคือการประมาณค่า เฉกเช่นเดียวกับการที่ดาวเคราะห์ถูกพิจาณาให้เป็นจุดเล็ก ๆ เมื่อนำมาพิจารณาโดยกลศาสตร์ท้องฟ้า ดังนั้นคำตอบจึงเป็นค่าประมาณ ด้วยเหตุนี้เอง ทฤษฎีความต่อเนื่องมิอาจจะนำไปสู่การหาคำตอบแม่นตรงได้ อย่างไรก็ตาม ภายใต้สภาวการณ์ที่ถูกต้อง ทฤษฎีความต่อเนื่องอาจจะนำไปสู่คำตอบที่มีความแม่นยำสูงได้

สำหรับปัญหาที่ทฤษฎีความต่อเนื่องมิอาจจะให้คำตอบที่แม่นตรงได้ สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการใช้ Statistical mechanics เพื่อการพิจารณาว่าจะใช้กลศาสตร์ของไหลดั้งเดิมหรือStatistical mechanics นั้นตัวเลขคุดเซ็นจะถูกใช้เพื่อการประเมิน ตัวเชขคนูดเซ็นนี้อธิบายอัตราของความยาวของMean free path ต่อความยาวทางกายภาพของอนุภาคที่แน่นอน ซึ่งขนาดทางกายภาพในที่นี้อาจจะเป็นความยาวรัศมีของอนุภาคของของไหล หรือถ้าจะกล่าวให้ง่ายขึ้นไปอีก ตัวเลขคุดเซ็นหมายถึงอัตราส่วนของระยะทางโดยเฉลี่ยที่อนุภาคจะเคลื่อนที่ไปจนกระทั่งชนเข้ากับอนุภาคอื่นต่อขนาดรัศมีของตัวมันเอง ปัญหาที่มีค่าตัวเลขคุดเซ็นมากกว่าหรือเท่ากับ 1 นั้นเหมาะแก่การคำนวณด้วย Statistical mechanics เพื่อการได้ผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้

14 ความคิดเห็น:

  1. มีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ
  2. เป็นข้อมูลที่เป็นประโยนช์มาก

    ตอบลบ
  3. มีประโยชน์มากๆค่ะ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาสาระมีประโยชน์ดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาสาระมีประโยชน์ดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  6. สาระเนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ
  7. เนื้อหามีสาระมากครับ

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาความรู้คลอบคลุมมากค่ะ

    ตอบลบ
  9. เนื้อหาดีมากได้ประโยชน์และสาระเรื่องนี้มากๆ

    ตอบลบ
  10. มีประโยชน์มากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  11. มีประโยชนื มากค่ะ

    ตอบลบ
  12. เนื้อหา เข้าใจง่ายดี ค่ะ

    ตอบลบ